การอ้างความมึนเมาเป็นเหตุยกเว้นโทษ
การอ้างความมึนเมาเป็นเหตุยกเว้นโทษ
322 Views
นาย ซ. อายุ 48 ปี นั่งดื่มสุรากับนายไก่อ่อนและกลุ่มวินมอเตอร์ไซต์รับจ้างประมาณ 8 คนที่ข้างบริษัทจนมึนเมาแทบครองสติไม่ได้ จากนั้น นาย ซ. ได้เดินถือปืนเข้าไปในงานเลี้ยงประจำปีของบริษัท ด้วยความรำคาญที่มีคนเบียดเสียดเป็นจำนวนมาก นาย ซ. จึงยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคนที่กำลังเต้นอยู่หน้าเวที กระสุนปืนถูก นางสาว จ. ถึงแก่ความตาย มีคำถามว่า นาย ซ. จะอ้างความมึนเมาเป็นเหตุยกเว้นโทษของตนเองได้หรือไม่
ป.อ.มาตรา 65 มีหลักว่า “ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” ส่วนมาตรา 66 มีหลักว่า “ความมึนเมาเพราะเสพย์สุราหรือสิ่งเมาอย่างอื่นจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวตามมาตรา 65 ไม่ได้ เว้นแต่ความมึนเมานั้นจะได้เกิดโดยผู้เสพย์ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้มึนเมา หรือได้เสพย์โดยถูกขืนใจให้เสพย์ และได้กระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ผู้กระทำความผิดจึงจะได้รับยกเว้นโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้นั้นยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” จากหลักกฎหมายข้างต้น การที่ นาย ซ. ดื่มสุรากับนายไก่อ่อนและกลุ่มวินมอเตอร์ไซต์รับจ้างประมาณ 8 คนที่ข้างบริษัทจนมึนเมาแล้วเดินถือปืนเข้าไปในงานเลี้ยงประจำปีของบริษัท และยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคนที่กำลังเต้นอยู่หน้าเวทีโดยมิได้คำนึงว่ากระสุนปืนจะไปถูกผู้ใด นาย ซ. ย่อมเล็งเห็นผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน นาย ซ. จะอ้างความมึนเมาเป็นเหตุยกเว้นโทษ หรือให้ได้รับโทษน้อยลงตาม ป.อ.มาตรา 66 หาได้ไม่ เพราะนาย ซ. เสพสุราโดยมิได้ถูกขืนใจให้เสพ หรือเสพโดยไม่รู้ว่าเป็นของมึนเมา
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2514)
# พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “เสพ” ซึ่งเป็นคำกริยาไว้ว่า หมายถึง (1) คบ เช่น ซ่องเสพ หรือ (2) กิน, บริโภค เช่น เสพสุรา หรือ (3) ร่วมประเวณี เช่น เสพเมถุน เป็นต้น
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.อ.มาตรา 65 มีหลักว่า “ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” ส่วนมาตรา 66 มีหลักว่า “ความมึนเมาเพราะเสพย์สุราหรือสิ่งเมาอย่างอื่นจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวตามมาตรา 65 ไม่ได้ เว้นแต่ความมึนเมานั้นจะได้เกิดโดยผู้เสพย์ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้มึนเมา หรือได้เสพย์โดยถูกขืนใจให้เสพย์ และได้กระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ผู้กระทำความผิดจึงจะได้รับยกเว้นโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้นั้นยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” จากหลักกฎหมายข้างต้น การที่ นาย ซ. ดื่มสุรากับนายไก่อ่อนและกลุ่มวินมอเตอร์ไซต์รับจ้างประมาณ 8 คนที่ข้างบริษัทจนมึนเมาแล้วเดินถือปืนเข้าไปในงานเลี้ยงประจำปีของบริษัท และยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคนที่กำลังเต้นอยู่หน้าเวทีโดยมิได้คำนึงว่ากระสุนปืนจะไปถูกผู้ใด นาย ซ. ย่อมเล็งเห็นผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน นาย ซ. จะอ้างความมึนเมาเป็นเหตุยกเว้นโทษ หรือให้ได้รับโทษน้อยลงตาม ป.อ.มาตรา 66 หาได้ไม่ เพราะนาย ซ. เสพสุราโดยมิได้ถูกขืนใจให้เสพ หรือเสพโดยไม่รู้ว่าเป็นของมึนเมา
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2514)
# พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “เสพ” ซึ่งเป็นคำกริยาไว้ว่า หมายถึง (1) คบ เช่น ซ่องเสพ หรือ (2) กิน, บริโภค เช่น เสพสุรา หรือ (3) ร่วมประเวณี เช่น เสพเมถุน เป็นต้น
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ