การลักข้าวเปลือกซึ่งชาวบ้านนำมาตากไว้ที่ลานวัดในช่วงเพล (เวลา 11-12 นาฬิกา) จะมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (8) หรือ (9) หรือไม่
การลักข้าวเปลือกซึ่งชาวบ้านนำมาตากไว้ที่ลานวัดในช่วงเพล (เวลา 11-12 นาฬิกา) จะมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (8) หรือ (9) หรือไม่
201 Views
เนื่องจากการตากข้าวเปลือกบนถนน เป็นการวางสิ่งของกีดขวางทางจราจร และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ขับขี่และผู้ใช้ทาง จึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 385, พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ. 2535, พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ซึ่งผู้กระทำความผิดอาจต้องระวางทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ เจ้าอาวาสวัดหลายแห่งจึงอนุญาตให้ชาวบ้านนำข้าวเปลือกมาตากไว้ที่ลานวัดได้ จึงมีคำถามว่า การลักข้าวเปลือกซึ่งชาวบ้านนำมาตากไว้ที่ลานวัดในช่วงเพล (เวลา 11-12 นาฬิกา) เป็นการลักทรัพย์ในสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะตาม ป.อ.มาตรา 335 (8) หรือเป็นการลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะตาม ป.อ.มาตรา 335 (9) หรือไม่
ป.อ.มาตรา 335 ว.1 มีหลักว่า “ผู้ใดลักทรัพย์ ... (8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการ หรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้น ๆ (9) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถหรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ ... ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 100,000 บาท” ตามปัญหา ความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะตามมาตรา 335 (8) นั้น นอกจากองค์ประกอบความผิดที่ว่าสถานที่ที่ลักทรัพย์จะต้องเป็นสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะแล้ว ผู้ที่เข้าไปลักทรัพย์ต้องเข้าในสถานที่ดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย เมื่อช่วงเวลาเกิดเหตุเป็นเวลา 11-12 นาฬิกา และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าวัดได้หวงห้ามหรือปิดกั้นมิให้ประชาชนเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุแต่อย่างใด การลักข้าวเปลือกซึ่งชาวบ้านนำมาตากไว้ที่ลานวัดดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการเข้าไปลักทรัพย์ในสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (9) นั้น เมื่อลานวัด หมายถึง ที่โล่งหรือลานภายในวัดเพื่อการใช้ประโยชน์ของวัด จึงมิใช่เป็นการลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะตามมาตรา 335 (9) อีกด้วย
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9193/2552 และ 14258/2555)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.อ.มาตรา 335 ว.1 มีหลักว่า “ผู้ใดลักทรัพย์ ... (8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการ หรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้น ๆ (9) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถหรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ ... ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 100,000 บาท” ตามปัญหา ความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะตามมาตรา 335 (8) นั้น นอกจากองค์ประกอบความผิดที่ว่าสถานที่ที่ลักทรัพย์จะต้องเป็นสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะแล้ว ผู้ที่เข้าไปลักทรัพย์ต้องเข้าในสถานที่ดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย เมื่อช่วงเวลาเกิดเหตุเป็นเวลา 11-12 นาฬิกา และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าวัดได้หวงห้ามหรือปิดกั้นมิให้ประชาชนเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุแต่อย่างใด การลักข้าวเปลือกซึ่งชาวบ้านนำมาตากไว้ที่ลานวัดดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการเข้าไปลักทรัพย์ในสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (9) นั้น เมื่อลานวัด หมายถึง ที่โล่งหรือลานภายในวัดเพื่อการใช้ประโยชน์ของวัด จึงมิใช่เป็นการลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะตามมาตรา 335 (9) อีกด้วย
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9193/2552 และ 14258/2555)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ