ความสมบูรณ์ของการทำพินัยกรรมบริจาคร่างกายเป็น “อาจารย์ใหญ่”
ความสมบูรณ์ของการทำพินัยกรรมบริจาคร่างกายเป็น “อาจารย์ใหญ่”
158 Views
กรณีทำพินัยกรรมบริจาคร่างกายให้แก่คณะแพทย์ศาสตร์เพื่อใช้ศึกษาและสนับสนุนการเรียนการสอน ต่อมาผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ พินัยกรรมดังกล่าวจะมีผลสมบูรณ์ และคณะแพทย์ศาสตร์จะพิจารณารับศพเป็นอาจารย์ใหญ่หรือไม่
ป.พ.พ.มาตรา 1646 มีหลักว่า “บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้” จากหลักกฎหมายดังกล่าว นอกจากผู้ตายจะแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินแล้ว ยังอาจแสดงเจตนาในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ คำว่าการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัตินั้นก็สุดแต่ผู้ตายจะได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในการต่าง ๆ ไว้ หากชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้จะไม่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ก็มีผลบังคับได้ตามพินัยกรรมเมื่อตนตายแล้ว และการต่าง ๆ นั้นมิใช่จะต้องมีกฎหมายระบุไว้ว่าเป็นการใดบ้าง ตามปัญหา เมื่อผู้ตายได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับศพของตนเองโดยบริจาคร่างกายให้แก่คณะแพทย์ศาสตร์โดยทำถูกต้องตามแบบพินัยกรรม พินัยกรรมนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี การเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเป็นการตายโดยผิดธรรมชาติซึ่ง ป.วิ.อ.มาตรา 148 กำหนดให้ต้องมีการชันสูตรพลิกศพ และพ.ร.บ.การให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2559 มาตรา 5 (4) ได้กำหนดให้ญาติผู้เสียชีวิตที่ติดใจสาเหตุการตาย สามารถติดต่อขอรับการตรวจชันสูตรซ้ำได้ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรณีจึงเป็นศพที่เกี่ยวกับคดีความ คณะแพทย์ศาสตร์จึงอาจพิจารณาไม่รับศพดังกล่าวไว้เป็นอาจารย์ใหญ่ (ขึ้นอยู่กับนโยบายและดุลยพินิจของแต่ละแห่ง)
ระเบียบการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา
1. มีอายุระหว่าง 20 – 80 ปี (โดยประมาณ)
2. ไม่เป็นผู้พิการจนไม่เหมาะแก่การศึกษา
3. ไม่เป็นโรคติดต่อ เช่น มะเร็ง, วัณโรค, เอดส์, ซิฟิลิส, ไวรัสตับอักเสบบีและซี และโรคติดต่อร้ายแรงตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
4. อื่น ๆ เช่น กำหนดภูมิลำเนาของผู้เสียชีวิต
# (เฉพาะประเด็นความสมบูรณ์ของการทำพินัยกรรมเป็นไปตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2508)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 1646 มีหลักว่า “บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้” จากหลักกฎหมายดังกล่าว นอกจากผู้ตายจะแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินแล้ว ยังอาจแสดงเจตนาในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ คำว่าการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัตินั้นก็สุดแต่ผู้ตายจะได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในการต่าง ๆ ไว้ หากชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้จะไม่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ก็มีผลบังคับได้ตามพินัยกรรมเมื่อตนตายแล้ว และการต่าง ๆ นั้นมิใช่จะต้องมีกฎหมายระบุไว้ว่าเป็นการใดบ้าง ตามปัญหา เมื่อผู้ตายได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับศพของตนเองโดยบริจาคร่างกายให้แก่คณะแพทย์ศาสตร์โดยทำถูกต้องตามแบบพินัยกรรม พินัยกรรมนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี การเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเป็นการตายโดยผิดธรรมชาติซึ่ง ป.วิ.อ.มาตรา 148 กำหนดให้ต้องมีการชันสูตรพลิกศพ และพ.ร.บ.การให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2559 มาตรา 5 (4) ได้กำหนดให้ญาติผู้เสียชีวิตที่ติดใจสาเหตุการตาย สามารถติดต่อขอรับการตรวจชันสูตรซ้ำได้ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรณีจึงเป็นศพที่เกี่ยวกับคดีความ คณะแพทย์ศาสตร์จึงอาจพิจารณาไม่รับศพดังกล่าวไว้เป็นอาจารย์ใหญ่ (ขึ้นอยู่กับนโยบายและดุลยพินิจของแต่ละแห่ง)
ระเบียบการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา
1. มีอายุระหว่าง 20 – 80 ปี (โดยประมาณ)
2. ไม่เป็นผู้พิการจนไม่เหมาะแก่การศึกษา
3. ไม่เป็นโรคติดต่อ เช่น มะเร็ง, วัณโรค, เอดส์, ซิฟิลิส, ไวรัสตับอักเสบบีและซี และโรคติดต่อร้ายแรงตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
4. อื่น ๆ เช่น กำหนดภูมิลำเนาของผู้เสียชีวิต
# (เฉพาะประเด็นความสมบูรณ์ของการทำพินัยกรรมเป็นไปตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2508)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ