“ไรเดอร์” เป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานของบริษัทแอปพลิเคชั่นมือถือหรือไม่

61 Views
ในยุคที่การขนส่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่พัสดุ แต่รวมถึงอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าอุปโภคบริโภคแบบเรียลไทม์ การแข่งขันของผู้ประกอบธุรกิจขนส่งผ่านแอปพลิเคชันมือถือจึงร้อนแรงยิ่งกว่าสนามรบ โดยมี “ไรเดอร์” หรือ “พนักงานจัดส่งสินค้า” เป็นฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนธุรกิจให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและทันเวลา เพราะแม้จะ “เร็วแค่ไหนก็ไม่สำคัญ ถ้าไรเดอร์ไปผิดทาง” จึงมีคำถามว่า “ไรเดอร์” เป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานของบริษัทแอปพลิเคชั่นมือถือหรือไม่
 
การทำงานของไรเดอร์นั้นได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเที่ยวเฉพาะวันที่มีการขนส่งสินค้าหรืออาหารเท่านั้น แม้จะมีระบบแอปพลิเคชันที่กำหนดให้ “ล็อกอิน” ตามเวลาเพื่อรอรับงาน แต่การพิจารณาว่าบริษัทแอปพลิเคชั่นมือถือกับไรเดอร์เป็นลูกจ้างและนายจ้างกันหรือไม่นั้น ต้องปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่าไรเดอร์อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาโดยต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทแอปพลิเคชั่นมือถือซึ่งเป็นนายจ้าง ดังที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) และ ป.พ.พ.มาตรา 583 ด้วย เมื่อค่าตอบแทนที่ได้ ขึ้นอยู่กับผลสำเร็จของงานโดยคิดเป็นรายชิ้น ไม่มีสถานประกอบกิจการเป็นหลักแหล่ง ไรเดอร์มีอิสระในการทำงานโดยจะรับหรือไม่รับคำสั่งดังกล่าวก็ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทแอปพลิเคชั่นมือถือกับไรเดอร์จึงมิใช่นายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน
 
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2567)
 
📚 อ่านบทความย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่
• เว็บไซต์: https://lombonlawoffice.com
• เพจ Facebook: เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย

บทความอื่นๆ