อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
306 Views
คำถาม ... เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 (วันแรงงาน) จำเลยเก็บโทรศัพท์มือถือของโจทก์ซึ่งตกหล่นอยู่ในสวนสนุกแต่ไม่ได้นำไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงาน เพื่อสืบหาเจ้าของที่แท้จริง ต่อมา โจทก์ได้ติดตามสัญญาณ Find my Cell Phone จนพบว่าโทรศัพท์มือถือดังกล่าวอยู่กับจำเลย วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเป็นคดีอาญาในข้อหายักยอกทรัพย์สินหาย และวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเป็นคดีแพ่งให้รับผิดฐานละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 48,900 บาท ต่อมาปรากฎว่า ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงมีคำถามว่า คดีแพ่งของโจทก์จะขาดอายุความหรือไม่
การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น อายุความต้องบังคับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 51 โดย วรรค 2 บัญญัติว่า ถ้าคดีอาญาใดได้ฟ้องต่อศาลและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลด้วยแล้ว แต่คดียังไม่เด็ดขาด อายุความซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.อ.มาตรา 95 ซึ่งมีความหมายว่า อายุความฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ให้มีกำหนดเวลาดังที่บัญญัติไว้ในเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญาตาม ป.อ.มาตรา 95 (1) - (5) แล้วแต่กรณี เมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลด้วยแล้ว อายุความที่ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลง กล่าวคือ ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับรวมเข้าในอายุความตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 193/15 วรรค 1 ได้บัญญัติไว้ และต่อมาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงแล้ว จึงให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ซึ่งในกรณีนี้อายุความจะเริ่มนับใหม่เมื่อศาลในคดีอาญามีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 51 วรรค 3 หรือ วรรค 4 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ มาตรา 51 วรรค 3 บัญญัติว่า ถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีตามกำหนดอายุความใน ป.พ.พ.มาตรา 193/32 และ วรรค 4 บัญญัติว่า ถ้าโจทก์ฟ้องคดีอาญาและศาลพิพากษายกฟ้อง ปล่อยจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายจะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีอายุความตาม ป.พ.พ. เห็นได้ว่ากรณีตามมาตรา 51 วรรค 3 และ วรรค 4 ดังกล่าว เป็นกรณีที่ศาลในคดีอาญามีคำพิพากษาเด็ดขาดไปก่อนที่ผู้เสียหายจะฟ้องคดีแพ่ง ข้อเท็จจริงตามปัญหาปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีแพ่งก่อนคดีอาญาของศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษายกฟ้องเด็ดขาด กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรค 3 และ วรรค 4 แต่ต้องบังคับตามมาตรา 51 วรรค 2 เท่านั้น โดยการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งยังไม่เด็ดขาด อายุความที่ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.อ.มาตรา 95 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
(ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 6613/2562)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น อายุความต้องบังคับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 51 โดย วรรค 2 บัญญัติว่า ถ้าคดีอาญาใดได้ฟ้องต่อศาลและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลด้วยแล้ว แต่คดียังไม่เด็ดขาด อายุความซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.อ.มาตรา 95 ซึ่งมีความหมายว่า อายุความฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ให้มีกำหนดเวลาดังที่บัญญัติไว้ในเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญาตาม ป.อ.มาตรา 95 (1) - (5) แล้วแต่กรณี เมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลด้วยแล้ว อายุความที่ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลง กล่าวคือ ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับรวมเข้าในอายุความตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 193/15 วรรค 1 ได้บัญญัติไว้ และต่อมาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงแล้ว จึงให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ซึ่งในกรณีนี้อายุความจะเริ่มนับใหม่เมื่อศาลในคดีอาญามีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 51 วรรค 3 หรือ วรรค 4 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ มาตรา 51 วรรค 3 บัญญัติว่า ถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีตามกำหนดอายุความใน ป.พ.พ.มาตรา 193/32 และ วรรค 4 บัญญัติว่า ถ้าโจทก์ฟ้องคดีอาญาและศาลพิพากษายกฟ้อง ปล่อยจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายจะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีอายุความตาม ป.พ.พ. เห็นได้ว่ากรณีตามมาตรา 51 วรรค 3 และ วรรค 4 ดังกล่าว เป็นกรณีที่ศาลในคดีอาญามีคำพิพากษาเด็ดขาดไปก่อนที่ผู้เสียหายจะฟ้องคดีแพ่ง ข้อเท็จจริงตามปัญหาปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีแพ่งก่อนคดีอาญาของศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษายกฟ้องเด็ดขาด กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรค 3 และ วรรค 4 แต่ต้องบังคับตามมาตรา 51 วรรค 2 เท่านั้น โดยการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งยังไม่เด็ดขาด อายุความที่ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.อ.มาตรา 95 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
(ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 6613/2562)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ