ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารสามารถกำหนดราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของตนเองให้สูงกว่าร้านอื่นได้หรือไม่
ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารสามารถกำหนดราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของตนเองให้สูงกว่าร้านอื่นได้หรือไม่
418 Views
เป็นที่น่าสังเกตว่า ภายหลังสถานการณ์โควิด 19 ในช่วงที่รุนแรงที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว และมีการเปิดประเทศเพื่อรับนักเที่ยวเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น สินค้าและบริการหลายอย่างกลับมีราคาที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เหมือนกับเป็นการซ้ำเติมในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศไทยเพิ่งกลับฟื้นตัว ภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการของรัฐ กิจกรรมที่เกิดขึ้นมากที่สุดได้แก่ การรับประทานอาหารนอกบ้าน หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ จึงมีคำถามว่า ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารสามารถกำหนดราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของตนเองให้สูงกว่าร้านอื่นได้หรือไม่
พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาตรา 29 มีหลักว่า “ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการใดๆ โดยจงใจที่จะทำให้ราคาต่ำเกินสมควร หรือสูงเกินสมควร หรือทำให้เกิดความปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้าหรือบริการใด คณะกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ถือว่าเป็นการทำให้ราคาต่ำเกินสมควร หรือสูงเกินสมควร หรือทำให้ปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้าหรือบริการใดก็ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา” ส่วนมาตรา 41 มีหลักว่า “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 29 ....... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” # การที่จะพิจารณาว่าราคาสินค้าต่ำ หรือสูงเกินสมควร หรือเกิดความปั่นป่วนหรือไม่ ไม่อาจพิจารณาเพียงเฉพาะตัวของผู้ประกอบธุรกิจที่กระทำเท่านั้น แต่จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบถึงราคาสินค้าและบริการในตลาดด้วยว่ามีการกำหนดราคาไว้เช่นไร เมื่อปัจจุบัน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังไม่ถูกกำหนดให้เป็นสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพ หรือเป็นสินค้าที่ใช้เป็นปัจจัยการผลิตต่อเนื่อง ไม่ใช่สินค้าที่มีโครงสร้างตลาดมีผู้ผลิตหรือผู้ขายน้อยราย หรือสภาพตลาดไม่มีการแข่งขันกันเท่าที่ควร หรือไม่เป็นสินค้าที่มีเทคนิคการผลิตและการลงทุนสูง ส่งผลให้ผู้ผลิตรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ค่อนข้างยาก หรือไม่เป็นสินค้าที่มีความเคลื่อนไหวด้านราคาบ่อยครั้งหรือขึ้นผิดปกติ และปริมาณขาดแคลนในบางครั้ง หรือไม่เป็นสินค้าที่มีความเชื่อมโยงและได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาในตลาดโลกมาก จึงไม่ใช่สินค้าควบคุมตามประกาศของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารจึงสามารถกำหนดราคาให้แตกต่างกันได้
# ตัวอย่างสินค้าและบริการที่ถูกควบคุมราคา เช่น ยารักษาโรค รถจักรยานยนต์ รถยนต์ ยางรถยนต์ น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ย ท่อพีวีซี ปูนซีเมนต์ สายไฟฟ้า เหล็กเส้น ข้าวสาร สบู่ แชมพู กระดาษชำระ ผงซักฟอก ไข่ไก่ ทุเรียน นมผง เนื้อสุกร อาหารกึ่งสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก เครื่องแบบนักเรียน บริการขนส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์ บริการรับชำระเงิน ณ จุดบริการ บริการรักษาพยาบาล และหน้ากากอนามัย เป็นต้น
พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาตรา 29 มีหลักว่า “ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการใดๆ โดยจงใจที่จะทำให้ราคาต่ำเกินสมควร หรือสูงเกินสมควร หรือทำให้เกิดความปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้าหรือบริการใด คณะกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ถือว่าเป็นการทำให้ราคาต่ำเกินสมควร หรือสูงเกินสมควร หรือทำให้ปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้าหรือบริการใดก็ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา” ส่วนมาตรา 41 มีหลักว่า “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 29 ....... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” # การที่จะพิจารณาว่าราคาสินค้าต่ำ หรือสูงเกินสมควร หรือเกิดความปั่นป่วนหรือไม่ ไม่อาจพิจารณาเพียงเฉพาะตัวของผู้ประกอบธุรกิจที่กระทำเท่านั้น แต่จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบถึงราคาสินค้าและบริการในตลาดด้วยว่ามีการกำหนดราคาไว้เช่นไร เมื่อปัจจุบัน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังไม่ถูกกำหนดให้เป็นสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพ หรือเป็นสินค้าที่ใช้เป็นปัจจัยการผลิตต่อเนื่อง ไม่ใช่สินค้าที่มีโครงสร้างตลาดมีผู้ผลิตหรือผู้ขายน้อยราย หรือสภาพตลาดไม่มีการแข่งขันกันเท่าที่ควร หรือไม่เป็นสินค้าที่มีเทคนิคการผลิตและการลงทุนสูง ส่งผลให้ผู้ผลิตรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ค่อนข้างยาก หรือไม่เป็นสินค้าที่มีความเคลื่อนไหวด้านราคาบ่อยครั้งหรือขึ้นผิดปกติ และปริมาณขาดแคลนในบางครั้ง หรือไม่เป็นสินค้าที่มีความเชื่อมโยงและได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาในตลาดโลกมาก จึงไม่ใช่สินค้าควบคุมตามประกาศของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารจึงสามารถกำหนดราคาให้แตกต่างกันได้
# ตัวอย่างสินค้าและบริการที่ถูกควบคุมราคา เช่น ยารักษาโรค รถจักรยานยนต์ รถยนต์ ยางรถยนต์ น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ย ท่อพีวีซี ปูนซีเมนต์ สายไฟฟ้า เหล็กเส้น ข้าวสาร สบู่ แชมพู กระดาษชำระ ผงซักฟอก ไข่ไก่ ทุเรียน นมผง เนื้อสุกร อาหารกึ่งสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก เครื่องแบบนักเรียน บริการขนส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์ บริการรับชำระเงิน ณ จุดบริการ บริการรักษาพยาบาล และหน้ากากอนามัย เป็นต้น