การที่หมอและพยาบาลไม่ยื้อชีวิตของผู้ป่วยโดยอ้างพินัยกรรมชีวิตนั้นจะมีความผิดหรือไม่
การที่หมอและพยาบาลไม่ยื้อชีวิตของผู้ป่วยโดยอ้างพินัยกรรมชีวิตนั้นจะมีความผิดหรือไม่
440 Views
ในชีวิตของคนเรานั้นย่อมมีเรื่องที่น่าดีใจที่สุด และก็ต้องมีเรื่องที่น่าเสียใจที่สุดเช่นกัน หนึ่งในเรื่องที่น่าเสียใจนั้นคงหนีไม่พ้นเรื่องการพลัดพรากจากไปของบุคคลอันเป็นที่รัก สังขารเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงและสิ่งมีชีวิตทุกชนิดย่อมต้องพบกับความตาย อย่างไรก็ดี หากในวาระสุดท้ายของชีวิต ผู้ป่วยได้ทำพินัยกรรมชีวิตไว้ การที่หมอและพยาบาลตัดสินใจไม่ยื้อชีวิตของผู้ป่วยโดยอ้างพินัยกรรมชีวิตนั้น จะมีความผิดหรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า “พินัยกรรม (Will)” ไว้ว่าหมายถึง คำสั่งของบุคคลที่กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว ส่วนใน ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 ระบุว่า บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ และการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายนั้นย่อมทำได้ด้วยคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดไว้ในพินัยกรรม จะเห็นได้ว่า คำว่าพินัยกรรมนั้น มักจะผูกพันหรือเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สินอยู่เสมอ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การป้องกันความขัดแย้งของทายาท (บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่) ในเรื่องการจัดการทรัพย์สินของเจ้ามรดก แต่มีพินัยกรรมอีกประเภทหนึ่งที่อาจจะไม่ต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรม แต่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิทธิเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมโดยแท้ พินัยกรรมที่แอดมินกำลังกล่าวถึงนี้คือ “พินัยกรรมชีวิต” ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 โดยมีเรื่องหนึ่งซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทยถูกบรรจุอยู่ในมาตรา 12 ของพ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ก็คือ “พินัยกรรมชีวิต (Living Will)” พินัยกรรมชีวิต หมายถึง หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยื้อการตายในวาระสุดท้ายของตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย การแสดงเจตนาดังกล่าวมิใช่เรื่องการุณยฆาต (Mercy Killing) และไม่ใช่กรณีการเร่งการตายให้แก่ผู้ป่วย แต่เป็นเรื่องของการตายตามธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ รับรองสิทธิของผู้ป่วยที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองในการแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิต และปกป้องผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่ได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลนั้นให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวงจากการถูกฟ้องร้องหรือร้องเรียน โดยญาติของผู้ป่วย หรือบุคคลใดๆ ในเรื่องความรับผิดทางแพ่ง โดยเฉพาะเรื่องละเมิด ความผิดอาญา จริยธรรมของแพทย์และพยาบาล ตามข้อบังคับแพทยสภาและสภาการพยาบาล อย่างไรก็ดี แอดมินเข้าใจดีว่า การกล่าวถึงความตายและสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่เราไม่ควรใช้ชีวิตอย่างประมาท ดังคำกล่าวของท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ที่ว่า “พรุ่งนี้หรือชาติหน้า ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะมาก่อน” และในช่วงท้ายของชีวิต เราเองจะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดว่า เราควรจะมีสิทธิได้เลือกรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยื้อการตาย เช่น การเจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจ การปั๊มหัวใจ หรือการใช้อุปกรณ์ที่ช่วยยืดการตายออกไป แลกกับการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมาก แต่ก็ไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ในวาระสุดท้ายของเราเองหรือไม่
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า “พินัยกรรม (Will)” ไว้ว่าหมายถึง คำสั่งของบุคคลที่กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว ส่วนใน ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 ระบุว่า บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ และการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายนั้นย่อมทำได้ด้วยคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดไว้ในพินัยกรรม จะเห็นได้ว่า คำว่าพินัยกรรมนั้น มักจะผูกพันหรือเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สินอยู่เสมอ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การป้องกันความขัดแย้งของทายาท (บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่) ในเรื่องการจัดการทรัพย์สินของเจ้ามรดก แต่มีพินัยกรรมอีกประเภทหนึ่งที่อาจจะไม่ต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรม แต่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิทธิเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมโดยแท้ พินัยกรรมที่แอดมินกำลังกล่าวถึงนี้คือ “พินัยกรรมชีวิต” ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 โดยมีเรื่องหนึ่งซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทยถูกบรรจุอยู่ในมาตรา 12 ของพ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ก็คือ “พินัยกรรมชีวิต (Living Will)” พินัยกรรมชีวิต หมายถึง หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยื้อการตายในวาระสุดท้ายของตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย การแสดงเจตนาดังกล่าวมิใช่เรื่องการุณยฆาต (Mercy Killing) และไม่ใช่กรณีการเร่งการตายให้แก่ผู้ป่วย แต่เป็นเรื่องของการตายตามธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ รับรองสิทธิของผู้ป่วยที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองในการแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิต และปกป้องผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่ได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลนั้นให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวงจากการถูกฟ้องร้องหรือร้องเรียน โดยญาติของผู้ป่วย หรือบุคคลใดๆ ในเรื่องความรับผิดทางแพ่ง โดยเฉพาะเรื่องละเมิด ความผิดอาญา จริยธรรมของแพทย์และพยาบาล ตามข้อบังคับแพทยสภาและสภาการพยาบาล อย่างไรก็ดี แอดมินเข้าใจดีว่า การกล่าวถึงความตายและสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่เราไม่ควรใช้ชีวิตอย่างประมาท ดังคำกล่าวของท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ที่ว่า “พรุ่งนี้หรือชาติหน้า ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะมาก่อน” และในช่วงท้ายของชีวิต เราเองจะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดว่า เราควรจะมีสิทธิได้เลือกรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยื้อการตาย เช่น การเจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจ การปั๊มหัวใจ หรือการใช้อุปกรณ์ที่ช่วยยืดการตายออกไป แลกกับการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมาก แต่ก็ไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ในวาระสุดท้ายของเราเองหรือไม่