ในคดีหย่า หากไม่ได้มีการนำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ ศาลจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร และฝ่ายใดมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูได้หรือไม่

421 Views
ป.พ.พ.มาตรา 1520 ว.2 มีหลักว่า “ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด และในการพิจารณาชี้ขาด ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสนั้นได้ตามมาตรา 1582 ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรส และสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ” และมาตรา 1522 ว.2 มีหลักว่า “ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาล หรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด” ดังนั้น ในคดีหย่า แม้จะไม่ได้มีการนำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร และในกรณีมีบุตรผู้เยาว์หลายคน ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด และฝ่ายใดมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจำนวนเท่าใด
 
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2558)
 
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ

บทความอื่นๆ