การติดตามทวงถามหนี้ด้วยพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสม จะถือเป็นการข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะหรือไม่
การติดตามทวงถามหนี้ด้วยพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสม จะถือเป็นการข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะหรือไม่
365 Views
นับตั้งแต่ปี 2530 ถึงปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศกำลังพัฒนา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างโดยมีรายได้ปานกลางระดับต่ำ ดังนั้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจนถึงปี 2580 จึงพยายามที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงให้ได้ อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลให้ประชาชนเป็นจำนวนมากต้องตกงาน ขายสินค้าไม่ได้ และขาดรายได้ จนนำมาสู่การต้องกู้หนี้ยืมสินทั้งในและนอกระบบกันเป็นจำนวนมาก เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว เมื่อความสามารถในการชำระหนี้น้อยลง ย่อมนำมาสู่การผิดนัดชำระหนี้ และการติดตามทวงถามหนี้จากเจ้าหนี้หรือตัวแทนโดยวิธีการต่างๆ จึงมีคำถามว่า เดิมลูกหนี้เป็นหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คกับเจ้าหนี้เป็นเงิน 4,800,000 บาท ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เจ้าหนี้จึงนำกลุ่มผู้ชายหลายคนแต่งกายคล้ายตำรวจไปที่บ้านของลูกหนี้ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงาน โดยพูดจาข่มขู่ว่าบ้านและที่ดินตกเป็นของเจ้าหนี้แล้ว หากลูกหนี้จะดำเนินงานต่อต้องให้เงินแก่เจ้าหนี้จำนวน 3,000,000 บาท ลูกหนี้กลัวจึงทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้แก่เจ้าหนี้ สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจะตกเป็นโมฆียะหรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 164 มีหลักว่า “การข่มขู่ที่จะทำให้การใดเป็นโมฆียะนั้นจะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงถึงขนาดจะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัวซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น การที่เจ้าหนี้นำกลุ่มผู้ชายหลายคนแต่งกายคล้ายตำรวจไปที่บ้านของลูกหนี้ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงาน โดยพูดจาข่มขู่ว่าบ้านและที่ดินตกเป็นของเจ้าหนี้แล้ว หากลูกหนี้จะดำเนินงานต่อต้องให้เงินแก่เจ้าหนี้จำนวน 3,000,000 บาท ลูกหนี้กลัวจึงทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้แก่เจ้าหนี้ การกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ด้วยพฤติการณ์และการกระทำที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น หาได้เกิดภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงถึงขนาดที่จะถือได้ว่าเป็นการข่มขู่อันจะทำให้สัญญากู้ยืมเงินเป็นโมฆียะไม่
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2561)
ป.พ.พ. มาตรา 164 มีหลักว่า “การข่มขู่ที่จะทำให้การใดเป็นโมฆียะนั้นจะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงถึงขนาดจะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัวซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น การที่เจ้าหนี้นำกลุ่มผู้ชายหลายคนแต่งกายคล้ายตำรวจไปที่บ้านของลูกหนี้ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงาน โดยพูดจาข่มขู่ว่าบ้านและที่ดินตกเป็นของเจ้าหนี้แล้ว หากลูกหนี้จะดำเนินงานต่อต้องให้เงินแก่เจ้าหนี้จำนวน 3,000,000 บาท ลูกหนี้กลัวจึงทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้แก่เจ้าหนี้ การกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ด้วยพฤติการณ์และการกระทำที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น หาได้เกิดภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงถึงขนาดที่จะถือได้ว่าเป็นการข่มขู่อันจะทำให้สัญญากู้ยืมเงินเป็นโมฆียะไม่
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2561)