บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่ายกบ้านให้บุตรผู้เยาว์ต้องจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินหรือไม่ และต่อมา หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำพินัยกรรมระบุทรัพย์สินให้ผู้อื่น ผลจะเป็นอย่างไร
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่ายกบ้านให้บุตรผู้เยาว์ต้องจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินหรือไม่ และต่อมา หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำพินัยกรรมระบุทรัพย์สินให้ผู้อื่น ผลจะเป็นอย่างไร
407 Views
ในชีวิตของเรายังคงมีอีกหลายสิ่งที่อธิบายได้ยากว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เมื่อหาคำอธิบายไม่ได้ เราจึงเชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นคือโชคชะตาที่เรานั้นถูกกำหนดไว้แล้ว ชีวิตคู่ก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะสมหวังหรือผิดหวัง เราก็มักจะได้ยินคำว่า“เป็นเพราะพรหมลิขิต” สำหรับคนที่จดทะเบียนสมรสเมื่อเลิกกัน ในวันที่จดทะเบียนหย่า จะต้องทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ในเรื่องทรัพย์สิน หนี้สิน และการดูแลบุตร จึงมีคำถามว่า บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่ายกบ้านให้บุตรผู้เยาว์ต้องจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินหรือไม่ และต่อมา หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำพินัยกรรมระบุทรัพย์สินให้ผู้อื่น ผลจะเป็นอย่างไร
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่ายกบ้านให้บุตรผู้เยาว์ดังกล่าว นอกจากจะมีสามีภริยาที่ประสงค์จะหย่าเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้ว ยังมีบุตรผู้เยาว์เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาด้วย แทนที่จะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาด้วยกันเอง กลับยอมให้บ้านตกเป็นของบุตรผู้เยาว์ จึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามมาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 525 ซึ่งระบุว่า “การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่.....” ดังนั้น แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายให้ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจึงไม่มีสิทธิจะนำทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ข้อกำหนดตามพินัยกรรมจึงเป็นอันไร้ผล
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15123/2555)
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่ายกบ้านให้บุตรผู้เยาว์ดังกล่าว นอกจากจะมีสามีภริยาที่ประสงค์จะหย่าเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้ว ยังมีบุตรผู้เยาว์เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาด้วย แทนที่จะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาด้วยกันเอง กลับยอมให้บ้านตกเป็นของบุตรผู้เยาว์ จึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามมาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 525 ซึ่งระบุว่า “การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่.....” ดังนั้น แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายให้ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจึงไม่มีสิทธิจะนำทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ข้อกำหนดตามพินัยกรรมจึงเป็นอันไร้ผล
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15123/2555)