ภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีการให้พนักงานของบริษัทในเครือกู้ยืมเงินโดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด
ภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีการให้พนักงานของบริษัทในเครือกู้ยืมเงินโดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด
360 Views
กรณีบริษัทประกอบธุรกิจหลายประเภท และมีบริษัทในเครือ โดยแต่ละบริษัทได้ให้สวัสดิการแก่พนักงานของตนในลักษณะของการให้กู้ยืมเงินจากบริษัทได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าราคาตลาด ต่อมา หากมีการโอนย้ายพนักงานไปยังบริษัทอื่นในเครือ แต่บริษัทเดิมยังคงให้กู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าราคาตลาดต่อไป ถือเป็นกรณีการให้กู้ยืมเงินโดยมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่
ในกรณีที่บริษัทให้สวัสดิการแก่พนักงานของตนในลักษณะของการให้กู้ยืมเงินจากบริษัทได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าราคาตลาด ถือได้ว่าเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควร ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี หากมีการโอนย้ายพนักงาน แม้จะเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ย่อมเป็นผลทำให้ความเป็นพนักงานของบริษัทเดิมสิ้นสุดลง หากบริษัทเดิมยังคงให้พนักงานกู้ยืมเงินต่อไปอีกโดยคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด กรณีเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากรที่จะประเมินดอกเบี้ยตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมได้
(เทียบเคียงคำวินิจฉัยข้อหารือภาษีอากร เลขที่หนังสือ กค 0811/16254)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ในกรณีที่บริษัทให้สวัสดิการแก่พนักงานของตนในลักษณะของการให้กู้ยืมเงินจากบริษัทได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าราคาตลาด ถือได้ว่าเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควร ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี หากมีการโอนย้ายพนักงาน แม้จะเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ย่อมเป็นผลทำให้ความเป็นพนักงานของบริษัทเดิมสิ้นสุดลง หากบริษัทเดิมยังคงให้พนักงานกู้ยืมเงินต่อไปอีกโดยคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด กรณีเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากรที่จะประเมินดอกเบี้ยตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมได้
(เทียบเคียงคำวินิจฉัยข้อหารือภาษีอากร เลขที่หนังสือ กค 0811/16254)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ