กรณีที่เจ้ามรดกไม่มีทายาท เจ้าหนี้มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
กรณีที่เจ้ามรดกไม่มีทายาท เจ้าหนี้มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
423 Views
ตามกฎหมาย เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายแล้ว มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาท แต่ถึงแม้มรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตามก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดการทรัพย์สิน เช่น การโอนที่ดิน หรือการเบิกถอนเงินออกจากธนาคาร เนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าวยังคงมีชื่อของเจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อการจัดการทรัพย์สินดังกล่าวต่อไป อย่างไรก็ดี เมื่อมรดกหมายถึงทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่างๆ ของผู้ตายด้วย จึงมีคำถามว่า กรณีที่เจ้ามรดกไม่มีทายาท เจ้าหนี้มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
ป.พ.พ.มาตรา 1713 มีหลักว่า “ทายาท หรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์ (2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ .....” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น กองมรดกซึ่งไม่มีทายาทนั้น แม้มรดกจะตกทอดแก่แผ่นดิน แผ่นดินก็มิใช่ทายาท เจ้าหนี้จึงไม่อาจบังคับชำระหนี้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกขึ้น และหากไม่มีผู้จัดการมรดกอยู่ตราบใด เจ้าหนี้ก็ไม่มีทางได้รับชำระหนี้ได้เลย การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากกองมรดกขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกมีผู้จัดการมรดก ในกรณีเช่นนี้ จึงต้องถือว่าเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2531(ประชุมใหญ่))
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 1713 มีหลักว่า “ทายาท หรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์ (2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ .....” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น กองมรดกซึ่งไม่มีทายาทนั้น แม้มรดกจะตกทอดแก่แผ่นดิน แผ่นดินก็มิใช่ทายาท เจ้าหนี้จึงไม่อาจบังคับชำระหนี้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกขึ้น และหากไม่มีผู้จัดการมรดกอยู่ตราบใด เจ้าหนี้ก็ไม่มีทางได้รับชำระหนี้ได้เลย การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากกองมรดกขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกมีผู้จัดการมรดก ในกรณีเช่นนี้ จึงต้องถือว่าเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2531(ประชุมใหญ่))
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ