ด่าว่า “ไอ้เหี้ย” เป็นหมิ่นประมาทหรือไม่
ด่าว่า “ไอ้เหี้ย” เป็นหมิ่นประมาทหรือไม่
357 Views
คำด่า หรือคำหยาบคาย เป็นการแสดงออกทางอารมณ์อย่างหนึ่งเมื่อเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีหรือไม่พอใจ สำหรับภาษาไทยแล้วถือเป็นคำที่มีการใช้กันมาตั้งแต่โบราณ และมีคิดค้นคำด่าเพิ่มเติมตามแต่จินตนาการที่จะสรรหาคำเปรียบเปรยถึงสิ่งที่ทำให้ผู้ถูกเรียกสามารถรับรู้ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ของผู้เรียก ณ ขณะนั้นได้ อย่างไรก็ดี ในบรรดาคำด่าที่ยังคงมีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คงจะไม่มีคำไหนชัดเจนมากกว่าคำว่า “ไอ้เหี้ย” อย่างแน่นอน จึงมีคำถามว่า ด่าว่า “ไอ้เหี้ย” เป็นหมิ่นประมาทหรือไม่
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “เหี้ย” ไว้ว่าหมายถึง ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิด Varanus salvator (Laurenti) ในวงศ์ Varanidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับตะกวด โตเต็มวัยยาวได้ถึง 2.5 เมตร ตัวอ้วนใหญ่สีน้ำตาลเข้ม มีลายดอกสีเหลืองพาดขวาง หางยาว อาศัยและหากินบริเวณใกล้นํ้า โดยมีอีกชื่อที่คนทั่วไปอาจเรียกว่า “ตัวเงินตัวทอง” หรือ “แลน” ถ้อยคำที่ว่า “ไอ้เหี้ย” นั้น นอกจากจะเป็นคำหยาบคายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้ถูกเรียกเป็นสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์สี่เท้าอีกด้วย อย่างไรก็ดี การเรียกดังกล่าวเป็นเพียงการดูหมิ่นเหยียดหยามตาม ป.อ.มาตรา 393 เท่านั้น แต่ยังไม่เป็นการใส่ความให้ผู้ถูกเรียกเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ.มาตรา 326 # แต่หากเป็นการเรียกระหว่างเพื่อนฝูง หรือเพื่อแสดงความสนิทสนมระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูกเรียก ย่อมขาดเจตนาในการดูหมิ่น และไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าแต่อย่างใด
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2522 และ 5257/2548)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “เหี้ย” ไว้ว่าหมายถึง ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิด Varanus salvator (Laurenti) ในวงศ์ Varanidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับตะกวด โตเต็มวัยยาวได้ถึง 2.5 เมตร ตัวอ้วนใหญ่สีน้ำตาลเข้ม มีลายดอกสีเหลืองพาดขวาง หางยาว อาศัยและหากินบริเวณใกล้นํ้า โดยมีอีกชื่อที่คนทั่วไปอาจเรียกว่า “ตัวเงินตัวทอง” หรือ “แลน” ถ้อยคำที่ว่า “ไอ้เหี้ย” นั้น นอกจากจะเป็นคำหยาบคายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้ถูกเรียกเป็นสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์สี่เท้าอีกด้วย อย่างไรก็ดี การเรียกดังกล่าวเป็นเพียงการดูหมิ่นเหยียดหยามตาม ป.อ.มาตรา 393 เท่านั้น แต่ยังไม่เป็นการใส่ความให้ผู้ถูกเรียกเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ.มาตรา 326 # แต่หากเป็นการเรียกระหว่างเพื่อนฝูง หรือเพื่อแสดงความสนิทสนมระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูกเรียก ย่อมขาดเจตนาในการดูหมิ่น และไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าแต่อย่างใด
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2522 และ 5257/2548)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ