ลูกจ้างมีธุระจำเป็นมาทำงานไม่ได้ แต่ใช้สิทธิลาป่วยแทนลากิจ นายจ้างจะเลิกจ้างทันทีได้หรือไม่
ลูกจ้างมีธุระจำเป็นมาทำงานไม่ได้ แต่ใช้สิทธิลาป่วยแทนลากิจ นายจ้างจะเลิกจ้างทันทีได้หรือไม่
431 Views
การลางานของลูกจ้างถือเป็นเทคนิคเฉพาะตัวอย่างหนึ่ง เพราะการลามีหลายประเภท และอาจส่งผลถึงค่าจ้าง รวมทั้งวันหยุดของลูกจ้างได้ อย่างไรก็ดี ในกรณีของการลาป่วยนั้น กฎหมายไม่ได้จำกัดจำนวนไว้และไม่ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้า จึงมักจะเป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ ในการใช้สิทธิของลูกจ้างเสมอ จึงมีคำถามว่า ลูกจ้างมีธุระจำเป็นมาทำงานไม่ได้ แต่ใช้สิทธิลาป่วยแทนลากิจ นายจ้างจะเลิกจ้างทันทีได้หรือไม่
คำว่า "ทุจริตต่อหน้าที่" ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(1) หมายถึง การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้จากตำแหน่งหน้าที่ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือการปฏิบัติของบริษัทนายจ้าง ลูกจ้างประจำรายเดือนลากิจหรือลาป่วยคงได้รับค่าจ้างเช่นเดียวกัน การที่ลูกจ้างมีความจำเป็นที่มาทำงานไม่ได้จึงลาป่วยเพราะไม่อาจลากิจได้เนื่องจากการลากิจต้องลาล่วงหน้า การลาของลูกจ้างจึงเป็นการลาผิดระเบียบ ไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ เพราะลูกจ้างไม่ได้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายจากค่าจ้างที่ได้รับจากนายจ้างแต่ประการใด การที่ลูกจ้างยื่นใบลาผิดระเบียบ ยังไม่เป็นการร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2525)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
คำว่า "ทุจริตต่อหน้าที่" ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(1) หมายถึง การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้จากตำแหน่งหน้าที่ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือการปฏิบัติของบริษัทนายจ้าง ลูกจ้างประจำรายเดือนลากิจหรือลาป่วยคงได้รับค่าจ้างเช่นเดียวกัน การที่ลูกจ้างมีความจำเป็นที่มาทำงานไม่ได้จึงลาป่วยเพราะไม่อาจลากิจได้เนื่องจากการลากิจต้องลาล่วงหน้า การลาของลูกจ้างจึงเป็นการลาผิดระเบียบ ไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ เพราะลูกจ้างไม่ได้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายจากค่าจ้างที่ได้รับจากนายจ้างแต่ประการใด การที่ลูกจ้างยื่นใบลาผิดระเบียบ ยังไม่เป็นการร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2525)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ