สถานภาพของการเป็นบุคคลล้มละลายนั้นเริ่มต้นเมื่อใด
สถานภาพของการเป็นบุคคลล้มละลายนั้นเริ่มต้นเมื่อใด
414 Views
เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 62 บัญญัติว่า “การล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์” จึงมีคำถามว่า สถานภาพของการเป็นบุคคลล้มละลายนั้นเริ่มต้นเมื่อใด และเมื่อตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้วจะไม่สามารถดำเนินการอะไรบ้าง
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 62 จะบัญญัติว่า “การล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์” ก็ตาม แต่การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดนั้น เป็นเพียงคำสั่งชั้นหนึ่งก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย เพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ และดำเนินการตามกฎหมายไปก่อน แต่ถ้าหากลูกหนี้ทำการประนอมหนี้เป็นผลสำเร็จก็จะไม่ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายต่อไป ดังนั้น การที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว # อย่างไรก็ดี เมื่อตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว บุคคลนั้นจะไม่สามารถ ทำธุรกรรมและจัดการทรัพย์สินของตนเอง, ทำนิติกรรม, รับราชการ, เป็นทนายความ, สมัครรับเลือกตั้ง (แต่ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งได้), ทำงานเป็นลูกจ้าง (กรณีมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุไว้), ออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาล เป็นต้น # บุคคลล้มละลายไม่ห้ามทำงาน แต่ต้องส่งเงินหรือรายได้ดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อกำหนดค่าเลี้ยงชีพประจำเดือนต่อไป
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2527 (มติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2527))
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 62 จะบัญญัติว่า “การล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์” ก็ตาม แต่การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดนั้น เป็นเพียงคำสั่งชั้นหนึ่งก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย เพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ และดำเนินการตามกฎหมายไปก่อน แต่ถ้าหากลูกหนี้ทำการประนอมหนี้เป็นผลสำเร็จก็จะไม่ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายต่อไป ดังนั้น การที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว # อย่างไรก็ดี เมื่อตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว บุคคลนั้นจะไม่สามารถ ทำธุรกรรมและจัดการทรัพย์สินของตนเอง, ทำนิติกรรม, รับราชการ, เป็นทนายความ, สมัครรับเลือกตั้ง (แต่ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งได้), ทำงานเป็นลูกจ้าง (กรณีมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุไว้), ออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาล เป็นต้น # บุคคลล้มละลายไม่ห้ามทำงาน แต่ต้องส่งเงินหรือรายได้ดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อกำหนดค่าเลี้ยงชีพประจำเดือนต่อไป
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2527 (มติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2527))
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ