คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องรอผลคดีอาญาหรือไม่
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องรอผลคดีอาญาหรือไม่
37 Views

หากคดีแพ่งและคดีอาญามีมูลเหตุเดียวกัน และมีการฟ้องทั้งสองคดี ศาลที่พิจารณาคดีส่วนแพ่งจำเป็นต้องรอผลคดีอาญาหรือไม่
ป.วิ.อ.มาตรา 46 มีหลักว่า “ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา” จากบทบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลในคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ใช้เฉพาะกรณีที่คดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้ว และหมายถึงข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาซึ่งศาลได้วินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งแล้วเท่านั้น (ไม่รวมถึงข้อเท็จจริงอื่นด้วย) ดังนั้น แม้คดีแพ่งและคดีอาญาจะมีมูลเหตุเดียวกัน ศาลที่พิจารณาคดีส่วนแพ่งก็สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาได้โดยไม่ต้องรอผลในคดีอาญาแต่อย่างใด แต่หากภายหลังศาลในคดีอาญาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงในคดีอาญานั้นย่อมผูกพันศาลในคดีส่วนแพ่ง # อย่างไรก็ดี หากศาลในคดีส่วนแพ่งพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รอผลคดีอาญา เนื่องจากข้อเท็จจริงในคดีอาญานั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่ง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลในคดีส่วนแพ่งก็อาจใช้ดุลพินิจให้รอผลคดีอาญาไว้ก่อน หรือสั่งงดการพิจารณาคดีส่วนแพ่งนั้นไว้ชั่วคราว เพื่อรอผลคดีอาญาก็ได้
ตัวอย่าง: นายหมูถูกกล่าวหาว่าขับรถโดยประมาทชนรถของนางกุ้งได้รับความเสียหาย ต่อมา นางกุ้งยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีส่วนแพ่ง ขณะที่นายหมูยังถูกดำเนินคดีอาญาฐานขับรถโดยประมาท กรณีนี้ ศาลในคดีส่วนแพ่งสามารถพิจารณาคดีไปก่อนได้ โดยไม่จำต้องรอฟังผลในคดีอาญาให้ถึงที่สุดก่อนแต่อย่างใด
# แต่ “ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง” เพราะหลักการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักคำพยานในคดีแพ่งและคดีอาญาไม่เหมือนกัน และในการพิพากษาคดีอาญาหาได้มีบทบัญญัติของกฎหมาย ให้ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในคดีอื่น
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2562, 1453/2562, 4021/2560 และ 5677/2555)
📚 อ่านบทความย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่
• เว็บไซต์: https://lombonlawoffice.com
• เพจ Facebook: เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย
ป.วิ.อ.มาตรา 46 มีหลักว่า “ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา” จากบทบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลในคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ใช้เฉพาะกรณีที่คดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้ว และหมายถึงข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาซึ่งศาลได้วินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งแล้วเท่านั้น (ไม่รวมถึงข้อเท็จจริงอื่นด้วย) ดังนั้น แม้คดีแพ่งและคดีอาญาจะมีมูลเหตุเดียวกัน ศาลที่พิจารณาคดีส่วนแพ่งก็สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาได้โดยไม่ต้องรอผลในคดีอาญาแต่อย่างใด แต่หากภายหลังศาลในคดีอาญาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงในคดีอาญานั้นย่อมผูกพันศาลในคดีส่วนแพ่ง # อย่างไรก็ดี หากศาลในคดีส่วนแพ่งพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รอผลคดีอาญา เนื่องจากข้อเท็จจริงในคดีอาญานั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่ง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลในคดีส่วนแพ่งก็อาจใช้ดุลพินิจให้รอผลคดีอาญาไว้ก่อน หรือสั่งงดการพิจารณาคดีส่วนแพ่งนั้นไว้ชั่วคราว เพื่อรอผลคดีอาญาก็ได้
ตัวอย่าง: นายหมูถูกกล่าวหาว่าขับรถโดยประมาทชนรถของนางกุ้งได้รับความเสียหาย ต่อมา นางกุ้งยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีส่วนแพ่ง ขณะที่นายหมูยังถูกดำเนินคดีอาญาฐานขับรถโดยประมาท กรณีนี้ ศาลในคดีส่วนแพ่งสามารถพิจารณาคดีไปก่อนได้ โดยไม่จำต้องรอฟังผลในคดีอาญาให้ถึงที่สุดก่อนแต่อย่างใด
# แต่ “ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง” เพราะหลักการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักคำพยานในคดีแพ่งและคดีอาญาไม่เหมือนกัน และในการพิพากษาคดีอาญาหาได้มีบทบัญญัติของกฎหมาย ให้ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในคดีอื่น
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2562, 1453/2562, 4021/2560 และ 5677/2555)
📚 อ่านบทความย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่
• เว็บไซต์: https://lombonlawoffice.com
• เพจ Facebook: เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย