การไม่มีเจตนาฆ่าแต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายนั้นเป็นละเมิดหรือไม่ และหากผู้ตายมีบิดามารดา แต่บิดามารดาเพิ่งจดทะเบียนสมรสกันหลังบุตรตาย จะมีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูจากผู้กระทำละเมิดได้หรือไม่

347 Views
หลายวันมานี้ มีข่าวเกี่ยวกับการทำร้ายผู้ต้องหาจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ประเด็นเรื่องผู้ที่กระทำจะมีเจตนาฆ่าหรือมีเจตนาทำร้ายนั้น เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันไปตามพยานหลักฐานในสำนวนของพนักงานสอบสวน แต่ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ หากผู้ตายมีบิดามารดา แต่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว จะมีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่กระทำให้บุตรตายได้หรือไม่
 
ในทางอาญาคำว่า “เจตนา” นั้นหมายถึง การกระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำ และขณะเดียวกัน ผู้กระทำต้องประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นด้วย
 
ส่วนในทางแพ่งนั้น “การกระทำโดยจงใจ” ผู้กระทำเพียงแต่รู้สำนึกในการกระทำว่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ไม่จำต้องประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
เมื่อผู้กระทำรู้สำนึกในการกระทำว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทำร้ายผู้อื่น จึงเป็นการกระทำโดยจงใจให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายซึ่งเป็นละเมิดแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าจะมีเจตนาฆ่าหรือไม่ก็ตาม ผู้กระทำก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด และเมื่อกรณีนี้ผู้ถูกกระทำละเมิดถึงแก่ความตาย ผู้กระทำจึงต้องชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูให้กับผู้มีสิทธิต่อไป
 
ส่วนการที่บิดามารดาจะมีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูจากผู้กระทำละเมิดให้บุตรตายได้หรือไม่นั้น สำหรับมารดาย่อมเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรเสมอจึงย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูได้อยู่แล้ว ส่วนบิดานั้น แม้เพิ่งจะจดทะเบียนสมรสกับมารดาหลังบุตรตายแต่การจดทะเบียนสมรสก็เป็นผลให้ผู้ตายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาด้วย และมีผลนับแต่วันที่ผู้ตายเกิด กรณีนี้บิดาจึงมีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูได้เช่นกัน
ค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูเป็นสิทธิเฉพาะตัวของบิดามารดาแต่ละคน
ลองดูคำพิพากษาศาลฎีกาที่แอดมินได้แนบมานี้นะครับ

บทความอื่นๆ