ข่มขืนกับอนาจารต่างกันอย่างไร
ข่มขืนกับอนาจารต่างกันอย่างไร
364 Views
ช่วงนี้ประเทศไทยเป็นช่วงหน้าร้อน อุณหภูมิของอากาศเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัว แต่อุณหภูมิของข่าวสารบ้านเมืองก็กลับทำให้เรายิ่งร้อนกันขึ้นไปอีก และคงจะหนีไม่พ้นข่าวที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ ณ เวลานี้ จึงเป็นที่มาของคำถามว่า ข่มขืนกับอนาจารต่างกันอย่างไร
ป.อ.ม.276 ว.1 มีหลักว่า “ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 80,000 บาทถึง 400,000 บาท” โดย ม.1(18) ได้ให้ความหมายของคำว่า “กระทำชำเรา” ไว้ว่า “กระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น” ดังนั้น จะเป็นกระทำชำเราได้จึงต้องเป็นการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่นเท่านั้น การใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นใดกระทำต่ออวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น จึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำชำเรา และเมื่อกฎหมายใช้คำว่าผู้ใดและผู้อื่น ผู้กระทำความผิดและผู้ถูกกระทำจึงอาจเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ ส่วนความผิดฐานกระทำอนาจารนั้นมีหลักอยู่ใน ม.278 ว.1 ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า 15 ปีโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” โดยคำว่า “กระทำอนาจาร” หมายถึง การกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศ เช่น การกอด จูบ ลูบ คลำ ทั้งนี้ รวมถึงการกระทำที่ไม่ได้กระทำต่อเนื้อตัวร่างกายด้วย เช่น การติดกล้องแอบถ่ายเพื่อให้เห็นสรีระร่างกายของผู้ถูกแอบถ่าย เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความใคร่ รวมทั้งทำให้เกิดความอับอายในทางเพศด้วย และเช่นเดียวกัน ผู้กระทำความผิดและผู้ถูกกระทำอาจเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ # อย่างไรก็ดี ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและกระทำอนาจาร หากไม่ได้กระทำต่อเด็ก ผู้เยาว์ หรือใช้อาวุธ หรือทำร้ายร่างกายให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย หรือเป็นการรุมโทรม หรือกระทำต่อบุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้อง ญาติร่วมสายโลหิต ศิษย์ที่อยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์หรือความอนุบาล หรือผู้อยู่ภายใต้อำนาจประการอื่น ผู้ทุพพลภาพ ผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน คนป่วยเจ็บ คนชรา สตรีมีครรภ์ หรือผู้ซึ่งอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่ได้กระทำต่อหน้าธารกำนัล กล่าวคือ ไม่ได้กระทำโดยเปิดเผยในลักษณะที่ให้บุคคลอื่นสามารถเห็นการกระทำของตนเองได้ ถือเป็นความผิดที่ยอมความได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2560, 1201/2559 และ 4836/2547)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.อ.ม.276 ว.1 มีหลักว่า “ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 80,000 บาทถึง 400,000 บาท” โดย ม.1(18) ได้ให้ความหมายของคำว่า “กระทำชำเรา” ไว้ว่า “กระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น” ดังนั้น จะเป็นกระทำชำเราได้จึงต้องเป็นการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่นเท่านั้น การใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นใดกระทำต่ออวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น จึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำชำเรา และเมื่อกฎหมายใช้คำว่าผู้ใดและผู้อื่น ผู้กระทำความผิดและผู้ถูกกระทำจึงอาจเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ ส่วนความผิดฐานกระทำอนาจารนั้นมีหลักอยู่ใน ม.278 ว.1 ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า 15 ปีโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” โดยคำว่า “กระทำอนาจาร” หมายถึง การกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศ เช่น การกอด จูบ ลูบ คลำ ทั้งนี้ รวมถึงการกระทำที่ไม่ได้กระทำต่อเนื้อตัวร่างกายด้วย เช่น การติดกล้องแอบถ่ายเพื่อให้เห็นสรีระร่างกายของผู้ถูกแอบถ่าย เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความใคร่ รวมทั้งทำให้เกิดความอับอายในทางเพศด้วย และเช่นเดียวกัน ผู้กระทำความผิดและผู้ถูกกระทำอาจเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ # อย่างไรก็ดี ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและกระทำอนาจาร หากไม่ได้กระทำต่อเด็ก ผู้เยาว์ หรือใช้อาวุธ หรือทำร้ายร่างกายให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย หรือเป็นการรุมโทรม หรือกระทำต่อบุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้อง ญาติร่วมสายโลหิต ศิษย์ที่อยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์หรือความอนุบาล หรือผู้อยู่ภายใต้อำนาจประการอื่น ผู้ทุพพลภาพ ผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน คนป่วยเจ็บ คนชรา สตรีมีครรภ์ หรือผู้ซึ่งอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่ได้กระทำต่อหน้าธารกำนัล กล่าวคือ ไม่ได้กระทำโดยเปิดเผยในลักษณะที่ให้บุคคลอื่นสามารถเห็นการกระทำของตนเองได้ ถือเป็นความผิดที่ยอมความได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2560, 1201/2559 และ 4836/2547)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ