ข่มขืนกระทำชำเราหรือสมยอมดูได้จากอะไรบ้าง
ข่มขืนกระทำชำเราหรือสมยอมดูได้จากอะไรบ้าง
375 Views
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม ป.อ.มาตรา 276 วรรค 1 มีหลักว่า “ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่า ตนเป็นบุคคลอื่นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 80,000-400,000 บาท” กล่าวโดยเฉพาะคำว่า “กระทำชำเรา” ตาม ป.อ.มาตรา 1(18) นั้น ต้องเป็นการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น เพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ มีปัญหาว่า การจะเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหรือผู้เสียหายสมยอมนั้นพิจารณาจากหลักเกณฑ์อะไรบ้าง มาดูกันเลยครับ
1. ร่องรอยการต่อสู้ขัดขืน เช่น รอยฟกช้ำขีดข่วนที่รางกาย เสื้อผ้า หน้าผมของทั้งผู้เสียหายและจำเลย
2. ระยะเวลาในการดำเนินคดีภายหลังเกิดเหตุ เช่น ผู้เสียหายมีการร้องทุกข์ในเวลาที่ใกล้ชิดภายหลังเกิดเหตุหรือไม่
3. หลักฐานทางการแพทย์และการตรวจพิสูจน์ภายในซึ่งระบุถึงการมีเพศสัมพันธ์ของผู้เสียหาย
4. การติดต่อพูดคุย รวมทั้งข้อความที่สื่อสารระหว่างผู้เสียหายและจำเลย ทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ
5. การบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิด เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน หรือญาติสนิท
6. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายและจำเลยก่อนเกิดเหตุ เช่น เคยคบหาหรือรู้จักกันมาก่อนหรือไม่
7. ประวัติส่วนตัวและพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหาย เช่น ผู้เสียหายมีการคบหากับบุคคลหลายคนหรือไม่
8. พฤติการณ์สมยอมขณะเกิดเหตุ เช่น การที่ผู้เสียหายยินยอมไปโดยลำพัง 2 ต่อ 2 กับจำเลยในเวลากลางคืน การแต่งกายของผู้เสียหาย และท่วงท่าขณะมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
* อย่างไรก็ดี การที่จะพิจารณาว่าจะเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหรือสมยอมนั้นเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยาก เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในใจของผู้เสียหาย ณ ขณะนั้น ดังนั้น ในการพิจารณาและชั่งน้ำหนักจึงจำเป็นต้องอาศัยพยานหลักฐานและหลักเกณฑ์หลายข้อประกอบกัน
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
1. ร่องรอยการต่อสู้ขัดขืน เช่น รอยฟกช้ำขีดข่วนที่รางกาย เสื้อผ้า หน้าผมของทั้งผู้เสียหายและจำเลย
2. ระยะเวลาในการดำเนินคดีภายหลังเกิดเหตุ เช่น ผู้เสียหายมีการร้องทุกข์ในเวลาที่ใกล้ชิดภายหลังเกิดเหตุหรือไม่
3. หลักฐานทางการแพทย์และการตรวจพิสูจน์ภายในซึ่งระบุถึงการมีเพศสัมพันธ์ของผู้เสียหาย
4. การติดต่อพูดคุย รวมทั้งข้อความที่สื่อสารระหว่างผู้เสียหายและจำเลย ทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ
5. การบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิด เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน หรือญาติสนิท
6. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายและจำเลยก่อนเกิดเหตุ เช่น เคยคบหาหรือรู้จักกันมาก่อนหรือไม่
7. ประวัติส่วนตัวและพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหาย เช่น ผู้เสียหายมีการคบหากับบุคคลหลายคนหรือไม่
8. พฤติการณ์สมยอมขณะเกิดเหตุ เช่น การที่ผู้เสียหายยินยอมไปโดยลำพัง 2 ต่อ 2 กับจำเลยในเวลากลางคืน การแต่งกายของผู้เสียหาย และท่วงท่าขณะมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
* อย่างไรก็ดี การที่จะพิจารณาว่าจะเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหรือสมยอมนั้นเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยาก เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในใจของผู้เสียหาย ณ ขณะนั้น ดังนั้น ในการพิจารณาและชั่งน้ำหนักจึงจำเป็นต้องอาศัยพยานหลักฐานและหลักเกณฑ์หลายข้อประกอบกัน
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ