ศาลสามารถนำพยานหลักฐานที่แสดงถึงวิธีการฆ่าที่มีรูปแบบเฉพาะของจำเลยในคดีอื่นมารับฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่น ๆ ของโจทก์เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้องได้หรือไม่
ศาลสามารถนำพยานหลักฐานที่แสดงถึงวิธีการฆ่าที่มีรูปแบบเฉพาะของจำเลยในคดีอื่นมารับฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่น ๆ ของโจทก์เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้องได้หรือไม่
421 Views
พวกเราน่าจะเคยได้ยินเรื่องราวของคดีฆาตกรรมต่อเนื่องซึ่งเกิดขึ้นที่ต่างประเทศ ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่จะถูกฆาตกรฆ่าอย่างโหดเหี้ยมโดยการถูกเชือดคอ ผ่าท้อง แล้วควักอวัยวะภายในออกมาด้านนอก เช่น คดีแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ กันมาบ้างแล้วนะครับ จึงมีคำถามที่น่าสนใจว่า หากคดีดังกล่าวเกิดขึ้นที่ประเทศไทย ในกรณีเช่นนี้ ศาลสามารถนำพยานหลักฐานที่แสดงถึงวิธีการฆ่าที่มีรูปแบบเฉพาะของจำเลยในคดีอื่นมารับฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่น ๆ ของโจทก์เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้องได้หรือไม่
ป.วิ.อ.มาตรา 226/2 ว.1 มีหลักว่า “ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่น ๆ หรือความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลย เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้อง เว้นแต่ พยานหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (1) พยานหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับองค์ประกอบความผิดของคดีที่ฟ้อง (2) พยานหลักฐานที่แสดงถึงลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำความผิดของจำเลย (3) พยานหลักฐานที่หักล้างข้อกล่าวอ้างของจำเลยถึงการกระทำ หรือความประพฤติในส่วนดีของจำเลย” จากบทบัญญัติข้างต้น แม้ว่าพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่น ๆ ของจำเลยจะไม่สามารถนำมารับฟังเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยในคดีปัจจุบันได้ เนื่องจากไม่เกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ถูกฟ้อง แต่หากพยานหลักฐานดังกล่าวมีส่วนช่วยในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดี ศาลก็สามารถนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น ๆ ของโจทก์เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีที่ปัจจุบันถูกฟ้องได้
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.วิ.อ.มาตรา 226/2 ว.1 มีหลักว่า “ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่น ๆ หรือความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลย เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้อง เว้นแต่ พยานหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (1) พยานหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับองค์ประกอบความผิดของคดีที่ฟ้อง (2) พยานหลักฐานที่แสดงถึงลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำความผิดของจำเลย (3) พยานหลักฐานที่หักล้างข้อกล่าวอ้างของจำเลยถึงการกระทำ หรือความประพฤติในส่วนดีของจำเลย” จากบทบัญญัติข้างต้น แม้ว่าพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่น ๆ ของจำเลยจะไม่สามารถนำมารับฟังเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยในคดีปัจจุบันได้ เนื่องจากไม่เกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ถูกฟ้อง แต่หากพยานหลักฐานดังกล่าวมีส่วนช่วยในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดี ศาลก็สามารถนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น ๆ ของโจทก์เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีที่ปัจจุบันถูกฟ้องได้
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ