บีบีกัน (BB GUN) กับ แบลงค์กัน (BLANK GUN) กับการเป็นอาวุธปืน
บีบีกัน (BB GUN) กับ แบลงค์กัน (BLANK GUN) กับการเป็นอาวุธปืน
745 Views
เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยให้ความเห็นตามเรื่องเสร็จที่ 846/2551 เกี่ยวกับลักษณะของบีบีกัน (BB GUN) ว่า มิได้เป็นอาวุธปืน เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของบีบีกัน ผลิตมาจากพลาสติกและเหล็กธรรมดาบางส่วนซึ่งไม่มีความแข็งแรงทนทานเพียงพอที่จะใช้เป็นอาวุธส่งเครื่องกระสุนปืนได้ จึงไม่ถือเป็นอาวุธปืน แต่เป็นเพียง “สิ่งเทียมอาวุธปีน” หรือ “สิ่งซึ่งมีรูปและลักษณะอันน่าจะทำให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน” ตามมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 เท่านั้น การมีไว้ในครอบครอง จึงไม่มีความผิด และไม่จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแต่อย่างใด ประกอบกับข้อเท็จจริงตามหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส 0030.4/9060 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2564 ได้มีคำสั่งชี้ขาดไม่ฟ้องคดีเกี่ยวกับการมีแบลงค์กัน (BLANK GUN) ไว้ในครอบครอง โดยได้อธิบายลักษณะของแบลงค์กันไว้ว่า “เป็นปืนเสียงเปล่า มีรูปร่างเป็นอาวุธปืนที่จำลองรูปแบบ และหลักการทำงานมาจากปืนจริงเท่านั้น แต่ไม่สามารถขับเคลื่อนกระสุนปืนจริงออกมาจากลำกล้องได้ มีแสงไฟและเสียงออกจากปลายกระบอกปืน ลำกล้องภายในมีแกนขวางลำกล้อง เพื่อป้องกันการดัดแปลงอาวุธปืน ช่องใส่กระสุนปืนไม่สามารถขับเคลื่อนเครื่องกระสุนปืน หรือเม็ดกระสุนใดๆ ออกมาจากลำกล้องได้”
เมื่อพิจารณาลักษณะของ บีบีกัน (BB GUN) กับ แบลงค์กัน (BLANK GUN) แล้วจะพบว่ามีระบบกลไกการทำงานที่แตกต่างกัน โดยบีบีกันจะใช้แก๊สเป็นตัวผลักดันกระสุน หรือใช้มอเตอร์หมุนเฟืองรั้งลูกสูบแล้วใช้อากาศเป็นตัวดันกระสุน และกระสุนที่ใช้จะมีลักษณะเป็นลูกบอลขนาด 6 มิลลิเมตร ส่วนแบลงค์กัน คือปืนจำลองที่เลียนแบบรูปร่างและลักษณะการทำงานมาจากปืนจริง กระสุนจะมีลักษณะเป็นหัวจีบขนาด 9 มิลลิเมตร พี.เอ.เค. มีการคัดปลอกกระสุน แต่ไม่มีการขับเคลื่อนอะไรออกมาจากปากกระบอก ยกเว้นเสียงและแสงแฟลซ และภายในมีแกนขวางลำกล้องเพื่อป้องกันมิให้ใช้กระสุนจริงได้ ส่วนใหญ่ปืนประเภทนี้จะใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์ หรือการกีฬา เช่น การปล่อยตัวนักวิ่ง หรือใช้เพื่อการฝึกซ้อมก่อนการมีปืนจริงเท่านั้น อย่างไรก็ดี ด้วยลักษณะทางกายภาพของแบลงค์กันที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับปืนจริง จึงมักจะเป็นที่นิยมในการนำมาดัดแปลงเปลี่ยนลำกล้องและใช้กระสุนจริง เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการก่ออาชญากรรมได้เช่นเดียวกับอาวุธปืน ในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย หรือแม้แต่สหรัฐอเมริกา จึงต้องมีการออกกฎหมายควบคุมอายุของผู้ครอบครอง และกฎหมายควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนดังกล่าว เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย สวัสดิภาพของประชาชน และลดความเป็นไปได้ที่สิ่งเทียมอาวุธปีนเหล่านี้จะถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น เช่น บางประเทศมีการกำหนดให้ บีบี กัน ถือเป็นอาวุธปืนอย่างหนึ่งโดยมีการกำหนดไว้ในคำนิยามของกฎหมาย หรือมีการห้ามมิให้จำหน่ายปืนอัดลมเบา และเครื่องกระสุนปืน บีบี กัน ให้แก่บุคคลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี และได้จำกัดความแรงเอาไว้มิให้เกินกว่า 320 ฟุตต่อวินาที เป็นต้น เมื่อคำว่า “อาวุธปืน” ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงาน และส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง ดังนั้น เมื่อมีการนำ บีบีกัน หรือแบลงค์กัน มาดัดแปลงเพื่อให้สามารถใช้ยิงกระสุนจริง หรือเครื่องกระสุนปืนออกไปได้แล้ว ความเป็น “สิ่งเทียมอาวุธปีน” ดังกล่าวย่อมหมดไป และกลายเป็น “อาวุธปืนเถื่อน” โดยทันที
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
เมื่อพิจารณาลักษณะของ บีบีกัน (BB GUN) กับ แบลงค์กัน (BLANK GUN) แล้วจะพบว่ามีระบบกลไกการทำงานที่แตกต่างกัน โดยบีบีกันจะใช้แก๊สเป็นตัวผลักดันกระสุน หรือใช้มอเตอร์หมุนเฟืองรั้งลูกสูบแล้วใช้อากาศเป็นตัวดันกระสุน และกระสุนที่ใช้จะมีลักษณะเป็นลูกบอลขนาด 6 มิลลิเมตร ส่วนแบลงค์กัน คือปืนจำลองที่เลียนแบบรูปร่างและลักษณะการทำงานมาจากปืนจริง กระสุนจะมีลักษณะเป็นหัวจีบขนาด 9 มิลลิเมตร พี.เอ.เค. มีการคัดปลอกกระสุน แต่ไม่มีการขับเคลื่อนอะไรออกมาจากปากกระบอก ยกเว้นเสียงและแสงแฟลซ และภายในมีแกนขวางลำกล้องเพื่อป้องกันมิให้ใช้กระสุนจริงได้ ส่วนใหญ่ปืนประเภทนี้จะใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์ หรือการกีฬา เช่น การปล่อยตัวนักวิ่ง หรือใช้เพื่อการฝึกซ้อมก่อนการมีปืนจริงเท่านั้น อย่างไรก็ดี ด้วยลักษณะทางกายภาพของแบลงค์กันที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับปืนจริง จึงมักจะเป็นที่นิยมในการนำมาดัดแปลงเปลี่ยนลำกล้องและใช้กระสุนจริง เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการก่ออาชญากรรมได้เช่นเดียวกับอาวุธปืน ในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย หรือแม้แต่สหรัฐอเมริกา จึงต้องมีการออกกฎหมายควบคุมอายุของผู้ครอบครอง และกฎหมายควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนดังกล่าว เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย สวัสดิภาพของประชาชน และลดความเป็นไปได้ที่สิ่งเทียมอาวุธปีนเหล่านี้จะถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น เช่น บางประเทศมีการกำหนดให้ บีบี กัน ถือเป็นอาวุธปืนอย่างหนึ่งโดยมีการกำหนดไว้ในคำนิยามของกฎหมาย หรือมีการห้ามมิให้จำหน่ายปืนอัดลมเบา และเครื่องกระสุนปืน บีบี กัน ให้แก่บุคคลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี และได้จำกัดความแรงเอาไว้มิให้เกินกว่า 320 ฟุตต่อวินาที เป็นต้น เมื่อคำว่า “อาวุธปืน” ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงาน และส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง ดังนั้น เมื่อมีการนำ บีบีกัน หรือแบลงค์กัน มาดัดแปลงเพื่อให้สามารถใช้ยิงกระสุนจริง หรือเครื่องกระสุนปืนออกไปได้แล้ว ความเป็น “สิ่งเทียมอาวุธปีน” ดังกล่าวย่อมหมดไป และกลายเป็น “อาวุธปืนเถื่อน” โดยทันที
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ