การนำข้อมูลบนเว็บไซต์มาใช้เพื่อการทำงาน
การนำข้อมูลบนเว็บไซต์มาใช้เพื่อการทำงาน
14 Views
ในยุคปัจจุบัน ข้อมูลบนเว็บไซต์มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการทำงานในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การวิเคราะห์ การอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิทธิและข้อยกเว้นต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์
1. ประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์
รูปภาพ หรือข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตอาจถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
2. ข้อยกเว้นในการใช้ข้อมูล
เช่น การใช้งานเพื่อการวิจัยหรือการศึกษา (โดยมิใช่การแสวงหากำไร) การใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลในครอบครัว การติชม การวิจารณ์หรือการแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดี ข้อยกเว้นเหล่านี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สร้างสรรค์แต่เพียงฝ่ายเดียวที่จะเป็นผู้พิจารณา
3. การขออนุญาตและการให้เครดิต
การให้เครดิตหรือการกล่าวถึงที่มา อาจช่วยลดความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องได้บ้าง แต่ไม่สามารถทำให้พ้นจากความรับผิดได้อย่างปลอดภัย
4. การใช้ข้อมูลบนเว็บไซต์อย่างปลอดภัย
เพื่อความปลอดภัยในการนำข้อมูลมาใช้ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือเลือกใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่มีการระบุว่าเป็นข้อมูลสาธารณะ หรือข้อมูลที่มีการให้สิทธิ์ใช้งานภายใต้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons*
5. วิธีการสังเกตว่าข้อมูลบนเว็บไซต์ใดมีลิขสิทธิ์หรือไม่
ข้อมูลบนเว็บไซต์ที่มีลิขสิทธิ์มักจะปรากฎข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
- ปรากฎข้อความลิขสิทธิ์ซึ่งมักจะอยู่ที่ส่วนท้ายของหน้าเว็บไซต์ เช่น “© [ปี] [ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์]” หรือ “All rights reserved”
- ปรากฎข้อความอยู่ในส่วนข้อกำหนดและเงื่อนไข เช่น “ข้อกำหนดและเงื่อนไข” หรือ “Terms and Conditions” ของเว็บไซต์
- ปรากฎข้อความอยู่ในส่วนนโยบายความเป็นส่วนตัว เช่น “นโยบายความเป็นส่วนตัว” หรือ “Privacy Policy”
* อย่างไรก็ดี กรณีที่ไม่แน่ใจว่าเว็บไซต์ดังกล่าวมีลิขสิทธิ์หรือไม่ ควรติดต่อและสอบถามจากเจ้าของ หรือผู้ดูแลเว็บไซต์นั้น ๆ โดยตรง
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
1. ประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์
รูปภาพ หรือข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตอาจถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
2. ข้อยกเว้นในการใช้ข้อมูล
เช่น การใช้งานเพื่อการวิจัยหรือการศึกษา (โดยมิใช่การแสวงหากำไร) การใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลในครอบครัว การติชม การวิจารณ์หรือการแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดี ข้อยกเว้นเหล่านี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สร้างสรรค์แต่เพียงฝ่ายเดียวที่จะเป็นผู้พิจารณา
3. การขออนุญาตและการให้เครดิต
การให้เครดิตหรือการกล่าวถึงที่มา อาจช่วยลดความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องได้บ้าง แต่ไม่สามารถทำให้พ้นจากความรับผิดได้อย่างปลอดภัย
4. การใช้ข้อมูลบนเว็บไซต์อย่างปลอดภัย
เพื่อความปลอดภัยในการนำข้อมูลมาใช้ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือเลือกใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่มีการระบุว่าเป็นข้อมูลสาธารณะ หรือข้อมูลที่มีการให้สิทธิ์ใช้งานภายใต้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons*
5. วิธีการสังเกตว่าข้อมูลบนเว็บไซต์ใดมีลิขสิทธิ์หรือไม่
ข้อมูลบนเว็บไซต์ที่มีลิขสิทธิ์มักจะปรากฎข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
- ปรากฎข้อความลิขสิทธิ์ซึ่งมักจะอยู่ที่ส่วนท้ายของหน้าเว็บไซต์ เช่น “© [ปี] [ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์]” หรือ “All rights reserved”
- ปรากฎข้อความอยู่ในส่วนข้อกำหนดและเงื่อนไข เช่น “ข้อกำหนดและเงื่อนไข” หรือ “Terms and Conditions” ของเว็บไซต์
- ปรากฎข้อความอยู่ในส่วนนโยบายความเป็นส่วนตัว เช่น “นโยบายความเป็นส่วนตัว” หรือ “Privacy Policy”
* อย่างไรก็ดี กรณีที่ไม่แน่ใจว่าเว็บไซต์ดังกล่าวมีลิขสิทธิ์หรือไม่ ควรติดต่อและสอบถามจากเจ้าของ หรือผู้ดูแลเว็บไซต์นั้น ๆ โดยตรง
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ