การที่ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้จะมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของทายาทได้เพียงใด
การที่ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้จะมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของทายาทได้เพียงใด
399 Views
คำถามยอดฮิตที่แอดมินมักจะถูกถามเป็นประจำจากผู้ที่มาปรึกษาคือ "เรื่องมรดก" และเมื่อพูดถึงมรดก เราก็อาจจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว และเกี่ยวข้องกับเฉพาะคนรวย หรือคนที่มีเงินเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วคำว่า “มรดก” นั้นหมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จากความหมายของมรดกเราจึงทราบว่า นอกจากทรัพย์สินแล้ว “สิทธิหน้าที่ และความรับผิดต่างๆ” ของผู้ตายนั้นก็ถือว่าเป็นมรดกด้วย ดังนั้น เมื่อตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ หากผู้ตายไปก่อ หรือสร้างหนี้อะไรไว้ เมื่อตายลง หนี้นั้นก็จะตกทอดแก่ทายาทโดยทันที ปัญหาคือเจ้าหนี้จะมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินดังกล่าวได้เพียงใด แอดมินมีคำตอบครับ
ในเรื่องการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของทายาทลูกหนี้นั้น กฎหมายคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ดังนั้น เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ทายาทของลูกหนี้จะต้องรับผิดทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดก ก็เพื่อให้เจ้าหนี้มีทางได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น แต่ไม่ทำให้ทายาทนั้นต้องรับผิดชอบชดใช้จากทรัพย์สินส่วนตัว (ของตนเอง) ด้วย กล่าวคือ ต้องรับผิดเพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทนั้นได้รับไปตามป.พ.พ. มาตรา 1601
# ป.พ.พ. มาตรา 1601 ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
ในเรื่องการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของทายาทลูกหนี้นั้น กฎหมายคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ดังนั้น เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ทายาทของลูกหนี้จะต้องรับผิดทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดก ก็เพื่อให้เจ้าหนี้มีทางได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น แต่ไม่ทำให้ทายาทนั้นต้องรับผิดชอบชดใช้จากทรัพย์สินส่วนตัว (ของตนเอง) ด้วย กล่าวคือ ต้องรับผิดเพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทนั้นได้รับไปตามป.พ.พ. มาตรา 1601
# ป.พ.พ. มาตรา 1601 ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน