การที่ผู้กู้ขอกู้เงินจากผู้ให้กู้จำนวน 20,000 บาท โดยทำสัญญากู้ยืมเงินลงลายมือชื่อของตนเอง แต่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเงินมอบไว้แก่ผู้ให้กู้ ต่อมาผู้กู้ผิดนัด ผู้ให้กู้จึงนำสัญญาดังกล่าวมากรอกจำนวนเงิน 50,000 บาทโดยพลการ และนำมาฟ้องร้องดำเนินคดี หากผู้กู้รับว่าเป็นหนี้กันจริงจำนวน 20,000 บาท แต่การที่ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินลงในสัญญากู้ยืมเงินเกินความเป็นจริง สัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นเอกสารปลอม ขอให้ยกฟ้อง ผู้กู้ยังคงจะต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวหรือไม่
การที่ผู้กู้ขอกู้เงินจากผู้ให้กู้จำนวน 20,000 บาท โดยทำสัญญากู้ยืมเงินลงลายมือชื่อของตนเอง แต่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเงินมอบไว้แก่ผู้ให้กู้ ต่อมาผู้กู้ผิดนัด ผู้ให้กู้จึงนำสัญญาดังกล่าวมากรอกจำนวนเงิน 50,000 บาทโดยพลการ และนำมาฟ้องร้องดำเนินคดี หากผู้กู้รับว่าเป็นหนี้กันจริงจำนวน 20,000 บาท แต่การที่ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินลงในสัญญากู้ยืมเงินเกินความเป็นจริง สัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นเอกสารปลอม ขอให้ยกฟ้อง ผู้กู้ยังคงจะต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวหรือไม่
319 Views
การกู้ยืมเงินถือเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองประเภทหนึ่งซึ่งจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้มีการส่งมอบเงินที่กู้ยืมเรียบร้อยแล้ว และการกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ จึงมีคำถามว่า การที่ผู้กู้ขอกู้เงินจากผู้ให้กู้จำนวน 20,000 บาท โดยทำสัญญากู้ยืมเงินลงลายมือชื่อของตนเอง แต่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเงินมอบไว้แก่ผู้ให้กู้ ต่อมาผู้กู้ผิดนัด ผู้ให้กู้จึงนำสัญญาดังกล่าวมากรอกจำนวนเงิน 50,000 บาทโดยพลการ และนำมาฟ้องร้องดำเนินคดี หากผู้กู้รับว่าเป็นหนี้กันจริงจำนวน 20,000 บาท แต่การที่ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินลงในสัญญากู้ยืมเงินเกินความเป็นจริง สัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นเอกสารปลอม ขอให้ยกฟ้อง ผู้กู้ยังคงจะต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวหรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 653 ว.1 มีหลักว่า “การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” การที่ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินในภายหลังว่าผู้กู้ได้มีการกู้ยืมเงินมากกว่าจำนวนหนี้กู้ยืมที่มีอยู่จริงในวันทำสัญญากู้ยืมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้กู้ สัญญากู้ยืมดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม และถือได้ว่าการกู้ยืมเงินมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ดังนี้ ผู้ให้กู้จึงไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ส่วนการที่ผู้กู้ให้การว่าเป็นหนี้กันจริงจำนวน 20,000 บาท แต่การที่ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินลงในสัญญากู้ยืมเงินเกินความเป็นจริง สัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นเอกสารปลอม ขอให้ยกฟ้องเช่นนี้ มิใช่เป็นกรณีที่ผู้กู้ให้การรับแล้วอันผู้ให้กู้ไม่จำต้องอ้างสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐาน ผู้กู้จึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินในจำนวนที่รับว่าได้กู้ยืมจากผู้ให้กู้ไป
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2557)
ป.พ.พ. มาตรา 653 ว.1 มีหลักว่า “การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” การที่ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินในภายหลังว่าผู้กู้ได้มีการกู้ยืมเงินมากกว่าจำนวนหนี้กู้ยืมที่มีอยู่จริงในวันทำสัญญากู้ยืมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้กู้ สัญญากู้ยืมดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม และถือได้ว่าการกู้ยืมเงินมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ดังนี้ ผู้ให้กู้จึงไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ส่วนการที่ผู้กู้ให้การว่าเป็นหนี้กันจริงจำนวน 20,000 บาท แต่การที่ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินลงในสัญญากู้ยืมเงินเกินความเป็นจริง สัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นเอกสารปลอม ขอให้ยกฟ้องเช่นนี้ มิใช่เป็นกรณีที่ผู้กู้ให้การรับแล้วอันผู้ให้กู้ไม่จำต้องอ้างสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐาน ผู้กู้จึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินในจำนวนที่รับว่าได้กู้ยืมจากผู้ให้กู้ไป
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2557)