ผู้ต้องหาเด็กหลบหนีระหว่างควบคุมตัวแล้วไปทำละเมิด
ผู้ต้องหาเด็กหลบหนีระหว่างควบคุมตัวแล้วไปทำละเมิด
161 Views
การที่เจ้าพนักงานตำรวจควบคุมตัวผู้เยาว์โดยการขับรถยนต์ของทางราชการไปส่งยังสถานพินิจ แต่แวะเข้าห้องน้ำที่สถานีบริการน้ำมันโดยดับเครื่องยนต์แต่เสียบกุญแจคาไว้ เป็นเหตุให้ผู้เยาว์ขับรถยนต์คันดังกล่าวหลบหนี แล้วไปชนรถยนต์คันอื่นที่จอดอยู่ในบริเวณนั้น เจ้าพนักงานตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องรับผิดทางละเมิดต่อเจ้าของรถยนต์ที่ถูกชนหรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 430 มีหลักว่า “ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร” ตามปัญหา การที่เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวผู้เยาว์ไปส่งยังสถานพินิจเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.อ. กำหนดไว้ แต่ไม่มีเจตนาที่จะรับดูแลผู้เยาว์ เมื่อผู้เยาว์หลบหนีไปและกระทำละเมิด เจ้าพนักงานตำรวจจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของรถยนต์ที่ถูกชน เพราะไม่อยู่ในบังคับมาตราดังกล่าว ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ต้องรับผิดเพราะเป็นเพียงความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ ผลแห่งละเมิดมิได้เกิดจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่โดยตรงที่หน่วยงานของรัฐจะต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 ว.1
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12979/2558)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ. มาตรา 430 มีหลักว่า “ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร” ตามปัญหา การที่เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวผู้เยาว์ไปส่งยังสถานพินิจเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.อ. กำหนดไว้ แต่ไม่มีเจตนาที่จะรับดูแลผู้เยาว์ เมื่อผู้เยาว์หลบหนีไปและกระทำละเมิด เจ้าพนักงานตำรวจจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของรถยนต์ที่ถูกชน เพราะไม่อยู่ในบังคับมาตราดังกล่าว ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ต้องรับผิดเพราะเป็นเพียงความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ ผลแห่งละเมิดมิได้เกิดจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่โดยตรงที่หน่วยงานของรัฐจะต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 ว.1
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12979/2558)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ